รู้จัก Quiet Firing กลยุทธ์ที่มีไว้ทำให้พนักงานอยากลาออก

General TopicDecember 08, 2023 17:16

รู้จัก Quiet Firing กลยุทธ์ที่มีไว้ทำให้พนักงาน “อยากลาออก”

เราอาจเคยได้ยินคำว่า quiet quitting ที่แปลตรงตัวได้ว่าเป็นการ “ลาออก” แบบเงียบๆ อธิบายถึงพฤติกรรมของพนักงานที่หมดใจกับงาน และเริ่ม “ปล่อยจอย” งานหนักไม่เอา งานเบาก็ไม่ค่อยสู้ ไม่ต้องการมีส่วนร่วมกับอะไรใดๆ ในที่ทำงาน จนเป็นความปวดหัวขององค์กรที่ไม่รู้จะจัดการอย่างไร ซึ่งนั่นถือเป็นในมุมของ “พนักงาน” เพราะในมุมขององค์กรเองก็มีคำว่า quiet firing ที่มีไว้เพื่อกำจัดคนที่ไม่ผ่านเกณฑ์แบบเงียบๆ เช่นกัน

ในบทความนี้ Reeracoen Thailand จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคำนี้ให้มากขึ้นพร้อมวิธีรับมือเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว

Quiet firing คืออะไร?

พูดในภาพรวมแบบอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือการทำให้พนักงานรู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่เจอ เช่น ถูกมองข้าม ไม่มีคุณค่า ไร้ตัวตนจนไม่อยากอยู่ต่อแล้วตัดสินใจ “ลาออก” ไปเอง ในแง่ดีอาจเป็นความบกพร่องในการดูแลพนักงาน เช่น ขาดการสนับสนุน ไม่ได้ช่วยพัฒนา ไม่มีความก้าวหน้า

กลับกันในแง่ร้ายคือการตั้งใจบีบให้พนักงานอยู่ไม่ได้ เปรียบเสมือนบอกอ้อมๆ ว่า “คุณโดนไล่ออก” ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง เช่นในแง่ร้ายเมื่อบริษัทต้องการให้พนักงานออกแต่ไม่อยากรับภาระจ่ายเงิน “ค่าชดเชย” ให้ทีหลัง โดยทั้ง Quiet firing และ Quiet quitting ถูกพูดถึงในวงกว้างตั้งแต่ปี 2021 หลังเหตุการณ์ The Great Resignation ที่คนจำนวนมากแห่ลาออกจากงานแล้วหันไปมองหาทางเลือกใหม่ๆ ให้ชีวิต

ทำไมต้อง Quiet Firing

เวลาผ่านไปองค์กรพบว่าพนักงานทำงานไม่ได้ตามเป้าหรือต้องการแล้วยกเครื่องสร้างทีมขึ้นมาใหม่ แต่ติดปัญหาที่ถ้าจะตัดคนเก่าๆ ออกก็เป็นเรื่องยาก เมื่อไม่อยากรู้สึกผิดในใจ ไม่ต้องการจ่ายเงินชดเชยหรือยิ่งไปกว่านั้นคือกลัวโดนฟ้องจากการเลิกจ้างโดยมิชอบ จึงต้องสร้างสถานการณ์ที่ทำให้คนเหล่านั้นออกไปเองโดยแบ่งออกได้เป็น 3 เหตุผลหลักๆ ดังนี้

ป้องกันการจ่ายค่าชดเชยและถูกฟ้อง
เนื่องจากในแต่ละประเทศจะมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ทำให้บริษัทต้องจ่ายเงินค่าชดเชยในการเลิกจ้างพนักงาน
ดังนั้นการทำให้พนักงานเลือกลาออกไปเองจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในสายตาของบางองค์กร

ป้องกันการเสียชื่อเสียงของบริษัท
การปลดพนักงานอาจทำให้เกิดการนำไปพูดต่อ ซึ่งสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับองค์กร
ดังนั้นจึงใช้วิธีการที่ทำให้ “เงียบ” ที่สุด อย่างการ Quiet firing นั่นเอง

อีกหนึ่งความเป็นไปได้คือ “การสื่อสาร”
ที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างองค์กรกับพนักงานเป็นผลพวงที่ต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน
จากเข้าออฟฟิศเป็นการทำงานทางไกลมากขึ้นทำให้บางครั้งอาจส่งผลให้พนักงานรู้สึกขาดการเชื่อมต่อ

อย่างไรก็ตามสิ่งในฐานะคนทำงานเราก็อาจตกอยู่ในสถานการณ์แบบได้ในสักวัน
ดังนั้นจึงต้อง “รู้เท่าทัน” จาก 4 ข้อสังเกตที่แนะนำบนบทความจาก builtin ต่อไปนี้

1) ถูกตำหนิในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง

โดยทั่วไปมักจะเริ่มจากการโดนตำหนิแบบงงๆ ต่อมาเราจะพบว่าตัวเองไม่ค่อยได้รับ “คำชม” อย่างที่เคยได้
แม้กระทั่งหัวหน้ายังจุกจิกกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มากขึ้นจนกระทั่งสุดท้ายกลายเป็นทำอะไรก็ผิดไปหมดก็อาจเป็นการบีบเพื่อให้ความมั่นใจเราลดลง

2) รู้สึกเหมือน “หลุดวงโคจร”

อีกหนึ่งข้อสังเกตของ Quiet firing คือการพบว่าตัวเองเหมือนถูกจับแยกจากคนอื่นๆ จนผิดสังเกต
ไม่ได้เข้าร่วมประชุมที่ควรจะมีเราอยู่ในนั้นด้วย รวมถึงไม่ค่อยได้รับข้อมูลที่สำคัญ เช่น อัปเดตงาน
รายละเอียดบางอย่าง หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทีมและองค์กร

3) ไม่มีการพูดถึงอนาคตข้างหน้าในการประเมิน

นอกจากบริหารทีมและพนักงานให้ได้ผลงานที่ดี อีกหนึ่งหน้าที่ขององค์กรและผู้นำคือการ “สร้างอนาคต”
ด้วยแผนงานและความท้าทายในระดับเหมาะสม ซึ่งมักจะมาจากการพูดคุยหลังประเมินผลงานในแต่ละรอบ
เพื่อหาข้อสรุปและมอบหมายงานที่ช่วยให้เราได้พัฒนา แต่หากระยะหลังดูเหมือนจะไม่การพูดคุยในส่วนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งข้อผิดสังเกตจากสิ่งที่ควรจะเป็น

4) ถูก “ดอง” ไม่ขึ้นเงิน ไม่เลื่อนขั้น ไม่แจกโบนัส

ทุกครึ่งปี - สิ้นปีจะมีหนึ่งสิ่งที่คนทำงานส่วนใหญ่ต่างรอคอยซึ่งก็คือการ “โปรโมต” เลื่อนขั้น
ขึ้นเงินเดือนและแจกโบนัส (สำหรับบริษัทที่มี) โดยถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ขององค์กรที่มีไว้จูงใจให้พนักงานอยู่นานๆ
ดังนั้นถ้าปัจจุบันบริษัทไม่ได้ปัญหาเรื่องผลประกอบการ ตัวเราเองไม่ได้ปัญหาเรื่องผลงานอย่างร้ายแรง ก็อาจตีความได้ว่าบริษัทไม่ได้ต้องการรักษาเราเอาไว้

เพิ่มเติมจาก Harvard business review ที่ได้ทำการเก็บผลสำรวจจากคนทำงานชาวอเมริกันกว่า 1,000 คน
ผู้เคยผ่านประสบการณ์ถูก Quiet fired จากนายจ้างจนพบข้อสังเกตสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

ความเปลี่ยนแปลงในแง่ภาระหน้าที่

  • โยกงานสำคัญไปให้คนอื่นทำแทน
  • มอบหมายงานอื่นที่ไม่สอดคล้องกับหน้าที่หลัก
  • ไม่ให้โอกาสงานใหม่ๆ อย่างที่ควรจะเป็น
  • กำหนดเป้าหมายแบบเข้าขั้นเป็นไปไม่ได้

ความเปลี่ยนแปลงด้านผลตอบแทน

  • ลดฐานเงินเดือน
  • ไม่ขึ้นเงินเดือน / งดแจกโบนัส
  • ประหยัดรายจ่ายโดยการไม่อนุญาตให้ทำงานล่วงเวลา

ความเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขการทำงาน

  • เปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน
  • โดนเพิ่มงานจนไม่ถึงระดับที่ไม่สามารถรับมือได้
  • บังคับให้ย้ายที่อยู่ / ที่ทำงาน
  • ถอดสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้เมื่อก่อน

ความเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารกับหัวหน้า

  • หลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องแผนงานในอนาคต
  • ขาดการได้รับฟีดแบคผลงานอย่างต่อเนื่อง
  • ประเมินพนักงานด้วยมาตรฐานที่ต่างกัน
  • หัวหน้ามักจะ “หาย” แบบไม่มีสาเหตุ
  • บกพร่องด้านการให้ข้อมูลที่สำคัญต่องาน
  • ไม่ให้เครดิตผลงานที่ทำ

ฝากโปรไฟล์พร้อมมองหางานใหม่ที่ตอบโจทย์และตรงใจมากขึ้น


อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่:
วิธีตอบคำถามสัมภาษณ์งานเมื่อต้องเล่าเรื่อง "ความล้มเหลว" ให้ HR ฟัง
ผลสำรวจ 8 เหตุผลยอดฮิตที่ทำให้คนลาออกจากงานในปี 2023


แปลและเรียบเรียงจาก:
https://bit.ly/41aMM7P
https://bit.ly/3Ry1i6t  

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment