ลดหย่อนภาษี 2565 ทำที่ไหน ยังไง เมื่อไร ครบจบ!

How to?December 26, 2022 16:17


สรุป 4 กลุ่ม “ลดหย่อนภาษี” ปี 2565 ทำยังไง ใช้เอกสารอะไร ที่ไหนและเมื่อไร!?

สิ้นปีแบบนี้ถึงเวลาเตรียมตัว “ยื่นภาษี” ซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยที่มีรายได้มากกว่า 120,000 บาททุกคน โดยค่าภาษีที่เสียจะคำนวนอัตราภาษีตามฐาน “รายได้สุทธิ” ซึ่งหาได้จากเงินได้หักลบกับสิทธิค่าลดหย่อนต่างๆ อ่านต่อที่ สรุปวิธีคำนวนภาษี 2565 ฉบับมนุษย์เงินเดือน

หลายคนอาจสงสัยว่าตัวเองสามารถใช้อะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง วันนี้เราได้รวบรวม 4 กลุ่มลดหย่อนพร้อมรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ รวมถึงสถานที่ ได้แก่

  1. กรมสรรพากรหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  2. ทางออนไลน์ผ่าน เว็บไซต์กรมสรรพากร
  3. แอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยสามารถทำการยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  • ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ปราศจากเงื่อนไข สามารถใช้ได้ทันที
  • ลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท (มีทะเบียนสมรตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้)
  • ฝากครรภ์และคลอดบุตรตามที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท) โดยลูกแฝดนับเป็น 1 ครรภ์ (ทั้งนี้การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว)
  • ลดหย่อนภาษีบุตรคนละ 30,000 บาทสำหรับบุตรตามกฎหมาย* หรือบุตรบุญธรรม* ที่กำลังศึกษาอยู่ อายุไม่เกิน 20 ปีหรือ 25 ปี ซึ่งหากอายุเกิน 25 ปีขึ้นไปแต่เป็นบุคคลไร้ความสามารถก็ลดหย่อนได้
  • ลดหย่อนภาษีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป (เกิดปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
    *บุตรตามกฎหมายใช้สิทธิลดหย่อนกี่คนก็ได้ตามจำนวนจริง
    *บุตรบุญธรรมลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาทสูงสุด 3 คน
    *ถ้ามีบุตรทั้งสองแบบ ต้องใช้สิทธิบุตรตามกฎหมายก่อน ถ้าเกิน 3 คนแล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมเพิ่มได้
     
  • เลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรสคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน รวมเป็น 120,000 บาท (ต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี รายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)

  • อุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพคนละ 60,000 บาท (ผู้พิการมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี มีบัตรประจำตัวผู้พิการและหนังสือรับรองการอุปการะ
    *ถ้าผู้พิการเข้าข่ายเงื่อนไขในข้ออื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถใช้สิทธิลดหย่อนควบคู่กันได้

2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน (สำหรับปีนี้ประกันสังคมจะลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท)

  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
    (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปโดยห้ามเวนคืนก่อนครบระยะ และต้องทำกับบริษัทในประเทศไทยเท่านั้น)
     
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท
    (รวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
     
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)
     
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
    (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำกับบริษัทในประเทศไทย)
     
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
  • ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป) สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคมและสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • บริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • โครงการช้อปดีมีคืน 2565 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาทสำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่จ่ายจริง (สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

5. เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

  • ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน)
  • ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
    หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
    รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา

    เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี


ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา Reeracoen Recruitment:

ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://bit.ly/3velH4q 

#ReeracoenRecruitment
#ReeracoenThailand #Recruitment
#มนุษย์เงินเดือน #วัยทำงาน #ภาษี2565 #ลดหย่อนภาษี