อนาคตของการสมัครงาน? เมื่อคุณอาจถูก “คัดเข้าทำงาน” ด้วยระบบ AI

General TopicAugust 04, 2023 17:15

 

อนาคตของการสมัครงาน?
เมื่อคุณอาจถูก “คัดเข้าทำงาน” ด้วยระบบ AI

คุณเคยเจอกับปัญหาหลังการสมัครงานเหล่านี้ไหม เช่น ไม่ค่อยได้นัดสัมภาษณ์งาน หรือแม้แต่การติดต่อกลับทั้งๆ ที่ค่อนข้างมั่นใจว่าตัวเองมีคุณสมบัติที่ดีพอสำหรับงานนั้นๆ จนเริ่มสงสัยว่าสาเหตุคืออะไร เราผิดพลาดตรงไหนหรือมีอะไรที่คอย “สกัดดาวรุ่ง” เราในกระบวนการสมัครงานกันแน่?

บทความนี้ Reeracoen จะพาไปทำความรู้จักกับระบบ ATS (Applicant Tracking System) หรือระบบจัดเก็บและ “คัดกรองผู้สมัคร” ตั้งแต่ต้นทาง โดยหนึ่งในหน้าที่สำคัญการใช้ AI อ่านคีย์เวิร์ดสำคัญบนเรซูเม่เพื่อจับคู่คุณสมบัติ เป็นสาเหตุที่หลายครั้งแม้จะทำเรซูเม่ได้ดีก็ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณา ซึ่งในฐานะผู้สมัครงานเราสามารถเรียนรู้ที่จะเอาชนะและใช้เป็น “อาวุธ” ที่ทำให้เรามีโอกาสได้งานมากขึ้นด้วยการปรับแต่งเรซูเม่ให้เข้ากับตรรกะของระบบเหล่านี้


ระบบ ATS คืออะไร?

ระบบ ATS คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาทำหน้าที่เป็น “ด่านแรก” ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการสมัครงานโดยมองหา Keywords บนเรซูเม่ที่ตรงกับตำแหน่งงานและแสดงผลเป็นคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุด

โดยปัจจุบันเริ่มเป็นที่นิยมใช้งานในหลายบริษัททั่วโลกเนื่องจากได้ประสิทธิภาพในการจ้างงานเพิ่มขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดกรองผู้สมัครจำนวนมาก รวมถึงสามารถติดตามกระบวนการในแต่ละขั้นตอนได้ง่าย ถือเป็นการรักษาต้นทุนทั้งเวลาและแรงงานที่ต้องใช้


จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ ATS

จากขั้นตอนดังกล่าวทำให้บริษัทหรือฝ่ายบุคลากรที่ดูแลงาน Hiring สามารถทำงานได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างง่ายๆ หากบริษัทมีการเปิดรับตำแหน่ง Sales Executive โดยมีเรซูเม่ส่งสมัครเข้ามา 500 ใบ ระบบ ATS จะเริ่มทำงานด้วยการมองหาเรซูเม่ที่มีคีย์เวิร์ดคำว่า “Sales Executive” เพื่อคัดเลือกคนที่เคยทำงานในตำแหน่งเดียวกันนี้มาก่อน

โดยส่วนใหญ่ลักษณะการใช้งานมักจะเป็น “ชุดคีย์เวิร์ด” เช่น Sales Executive, Sales Representative หรืออื่นๆ ที่มีความทับซ้อนหรือมีการใช้งานทักษะใกล้เคียงกัน ดังนั้นถ้าเราสามารถ “เดา” ได้ว่าคีย์เวิร์ดที่ควรใช้บนเรซูเม่จะต้องมีคำว่าอะไรบ้างก็มีสิทธิที่เราจะผ่านด่านระบบ ATS ไปถึงการพิจารณาโดยมนุษย์มากขึ้น ซึ่งสามารถใช้วิธีการ “ลอก” จาก Job Description ที่มีในเว็บประกาศงานจากหลายๆ บริษัทเพื่อดูว่าคีย์เวิร์ดไหนเป็นที่นิยมและถูกใช้งานมากที่สุด


อย่างไรก็ตามระบบเอง ATS ก็ยังห่างไกลกับคำว่าสมบูรณ์แบบ

ข้อมูลจาก Harvard Business Review พบว่า 88% ของ Recruiter ให้ความคิดเห็นต่อระบบ ATS ว่าทำงานแบบ “ยึดติด” กับคีย์เวิร์ดเฉพาะมากเกินไปจนทำให้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสมหลุดไป

เมื่อไรที่เราจะต้องผ่านด่าน ATS ในการสมัครงาน

1) การสมัครงานในบริษัทใหญ่ที่มีคู่แข่งจำนวนมาก
2) การสมัครงานผ่านเว็บไซต์ประกาศงานซึ่งต้องมีการคัดกรองอย่างละเอียด
3) สื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อและสมัครงาน เช่น Linkedin

ดังนั้นจึงเป็นที่แน่นอนว่า “หลายครั้ง” เราจะต้องต่อสู้กับด่าน AI อย่างระบบ ATS เพื่อให้ได้มาซึ่งงานที่ต้องการจึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับรูปแบบของโลกยุคใหม่เพื่อรักษาโอกาสและมั่นใจได้ว่าการสมัครงานครั้งต่อไปจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สมัครงานผ่าน “คน” โดยมี Recruiter มืออาชีพช่วยคัดกรองและเพิ่มโอกาสได้งานแบบไม่ต้องกลัวเรซูเม่จะ “หลุดวงโคจร” ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา Reeracoen Recruitment

อ่านบทความเพิ่มเติม:
แนะนำวิธีใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการหางานผ่าน Linkedin จาก 100 ผู้เชี่ยวชาญด้าน Recruitment
"ย้ายงานเมื่อไรดี" สังเกตได้จาก 7 สัญญาณต่อไปนี้

 

แหล่งที่มา: https://bit.ly/47c3rKV 
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment