วิธีใช้ Linkedin หางาน คำแนะนำจาก 100 ผู้เชี่ยวชาญด้านการ Recruit

How to?June 07, 2023 11:05

วิธีใช้ Linkedin หางาน คำแนะนำจาก 100 ผู้เชี่ยวชาญด้านการ Recruit

Linkedin ถือเป็นหนึ่งในช่องทางที่คนทั่วโลกใช้สร้างคอนเนกชัน
สร้าง Personal Branding ด้านการทำงาน รวมถึงใช้ “มองหางาน”
ซึ่งโดดเด่นด้วยฟังก์ชันระบุประสบการณ์ทำงาน ทักษะสำคัญ (Key essential skills)
รวมถึงจำนวนผู้ใช้งานกว่า 930 ล้านบัญชีซึ่งกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้เป็นเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้หลากหลาย

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ปัจจุบันใครๆ ต่างก็มีโปรไฟล์ Linkedin ไว้มองหาโอกาสใหม่ๆ ให้ตัวเอง
ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “Your Linkedin profile is your Digital Brand”


สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์มาบ้าง การใช้ Linkedin คงไม่ยากอะไร
แต่สำหรับ “มือใหม่” อาจต้องอาศัยความเข้าใจและเทคนิคเล็กน้อยเพื่อโปรไฟล์ที่โดดเด่นมากขึ้น
และนี่คือคำแนะนำการใช้ Linkedin เพื่อหางานซึ่งแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการ Recruit


Photo

รูปโปรไฟล์และภาพหน้าปกคือ 2 สิ่งแรกที่คนจะเห็นเมื่อคลิกเข้าไปดู Linkedin ของคุณ
ซึ่งภาพสามารถแสดงออกได้หลายอย่าง ทั้งบุคลิก วุฒิภาวะ และความเป็นมืออาชีพ

ในบทความได้แนะนำในเรื่องการใช้รูปภาพว่า

1) แน่ใจว่าภาพถ่ายใกล้เคียงปัจจุบันที่สุด
2) สามารถมองเห็น ‘ใบหน้า’ ได้ชัดเจน
3) แสดงถึงบุคลิกภาพและคงไว้ซึ่งความสุภาพ

หลายคนอาจสงสัยว่ารูปถ่ายมีผลแค่ไหน
คำตอบจาก Recruiter จากหลายบริษัทระบุว่า “มีผล” ไม่ทางคุณสมบัติก็ทางความรู้สึก
เนื่องจากรูปถ่ายคือสิ่งแรกๆ ที่จะถูกมองเห็นและสามารถสะท้อนถึงความเป็นตัวเราได้
จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ Recruiter ใช้คัดกรองเบื้องต้น
หากรูปที่ใช้ดูไม่ชัดเจน ไม่ Professional ไม่น่าประทับใจก็มีสิทธิที่จะถูกปัดตกและมองข้ามไปได้

“รูปถ่ายควรแสดงถึงตัวคุณในแบบที่ดีที่สุด”
Arno Markus อดีต recruiter และผู้ก่อตั้ง iCareerSolutions


Headline

ส่วน “พาดหัว” หรือส่วน Headline ใน Linkedin จะปรากฏด้านใต้ชื่อหรือหน้าโปรไฟล์ของเรา
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่ Recruiter มักจะมองหาเพื่อคัดกรองคุณสมบัติกับความต้องการในรายละเอียดงาน
ดังนั้นเราจึงต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะมันเป็นส่วนที่สามารถถูกมองเห็นแบบเต็มๆ เมื่อมีการค้นหาโปรไฟล์ของเรา

ข้อระวังคือส่วนของ Headline ถูกกำหนดไว้ให้ใส่ได้เพียง 220 ตัวอักษรเท่านั้น
ดังนั้นคงไม่ต้องอธิบายมากว่าควรระบุเฉพาะ “เรื่องที่สำคัญและโดดเด่นมากที่สุด”

แต่หากไม่รู้ว่าควรใส่ข้อมูลเกี่ยวกับอะไรดีผู้เขียนก็ได้แนะนำแนวทางไว้ดังนี้

1) ตำแหน่งหน้าที่ | ความสำเร็จ
2) ตำแหน่งหน้าที่ | ประสบการณ์
3) ตำแหน่งหน้าที่ | บทบาทความรับผิดชอบ
4) ตำแหน่งหน้าที่ | ความเชี่ยวชาญ | ฯลฯ

Tips ทิ้งทายในส่วนของ Headline คือไม่ควรใช้พื้นที่ส่วนนี้พูดถึง “บริษัทเก่า”
เพราะแม้ว่าจะเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงแต่ก็ไม่ได้เป็นกระบอกเสียงพูดแทนตัวเราได้ดีเท่าเราพูดเอง
นอกจากนี้หากเริ่มได้รับความสนใจแล้ว Recruiter ก็จะต้องอ่านโปรไฟล์ของเราทั้งหมดอยู่ดี
จึงควรเน้นไปที่ตำแหน่ง ทักษะ ประสบการณ์เน้นๆ จะดีกว่า


About

Recruiter ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ที่กำลังหางานควรใช้ส่วนสรุป (About) อธิบายเกี่ยวกับตัวเอง
พรีเซนต์ตัวเองให้อีกฝ่ายรับรู้ในแง่ดีที่สุดทั้งเป้าหมาย ความสามารถ ผลงาน ประสบการณ์
แบบตรงประเด็นไม่เวิ่นเว้อ ยาวไม่เกิน “สองบรรทัด”

แม้ว่าส่วน ‘About’ ควรจะเน้นที่ด้านการทำงานมากที่สุด
แต่การระบุถึง “ความสนใจส่วนตัว” นอกเหนือจากเรื่องงานจะทำให้ Recruiter ได้รู้จักตัวตนเราในแง่มุมอื่นๆ
ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจติดต่อเข้ามาเร็วขึ้นกว่าเดิม

สุดท้ายการใส่ข้อความแบบ Call-to-action ซึ่งก็คือการ “ระบุเป้าหมายที่ชัดเจน”
ว่าต้องการอะไร สามารถติดต่อได้อย่างไรซึ่งช่วยให้ Recruiter ทำงานกับเราง่ายขึ้น


Featured Content

Recruiter จำนวนมากแนะนำว่าพื้นที่ส่วนนี้ควรมีไว้เพื่อ “อัปเดตความสำเร็จ”
หรือแสดงความเคลื่อนไหวทางชีวิตการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายงาน ความสนใจต่างๆ อาทิ ผลงานความสำเร็จ บทความวิจัย
พูดง่ายๆ ว่าพยายามปั้น Branding ของตัวเอง หาแสงให้เราอยู่ในสายตาบุคคลภายนอกอยู่เรื่อยๆ


Activity

ฟีดกิจกรรมการเคลื่อนไหวบน Linkedin อาทิ การแชร์ ความคิดเห็น การเผยแพร่เนื้อหา
เป็นสิ่งที่สามารถแสดงถึงการมีส่วนร่วมในสิ่งที่เราสนใจและทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ
ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อการรับรู้ว่าเราเป็นคนแบบไหนยังแสดงออกว่าเรากำลัง “Active” ที่จะมองหางานด้วย

Jonathan Reynolds, CEO จากบริษัท Titus Talent ยังอธิบายเพิ่มว่า
การใช้งาน Linkedin สม่ำเสมอ มีการเชื่อมต่อกับผู้คนที่หลากหลายในสายงานแสดงให้เห็นถึง “คอนเนกชันที่แข็งแรง”
ซึ่งถือเป็นกำไรของบริษัทที่จะได้ไปเช่นกัน


Experience

จุดคาใจเมื่อหลายคนไม่มั่นใจว่า “บอกแค่ไหน” ถึงจะดีและตัวอย่างที่ดีควรต้องระบุถึงอะไรบ้าง
เราอาจเคยได้ยินหรือเข้าใจว่า “น้อยแต่มาก” บอกแค่ตำแหน่งและชื่อบริษัทก็เพียงพอ
แต่บทความนี้พบว่า Recruiters ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้สมัครอธิบายเกี่ยวกับการทำงานแบบลงรายละเอียดให้ครบถ้วน

Brianna Rooney ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ TalentPerch อธิบายว่า

“โปรไฟล์ Linkedin ควรทำหน้าที่ได้ไม่ต่างจากเรซูเม่”

ด้วยการระบุถึงตำแหน่ง หน้าที่รับผิดชอบ ความสำเร็จที่ได้โดยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยและลงรายละเอียดให้ชัดเจน
โดยแนะนำให้นำ “ความสำเร็จ” ขึ้นมาดึงความสนใจก่อน เช่น เพิ่มยอดขายให้แผนก 200% จากการเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย
เพิ่มเติมคือหากทำงานอยู่กับบริษัทขนาดเล็กก็อย่าลืมอธิบายลักษณะของธุรกิจไว้เบื้องต้นด้วย


Licenses & Certifications

การใส่หลักฐาน อาทิ License ใบประกอบวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในบางสายงาน เช่น Finance, CFA, CFP หรืออื่นๆ
ซึ่งนอกจะใช้พูดแทนทักษะ ความสามารถแล้ว Jonathan Reynolds, CEO บริษัท Titus Talent Strategies เสริมว่ายังแสดงถึงความทุ่มเทในการพัฒนาตัวเองด้วยซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว (การหมั่นพัฒนาตัวเอง) จะกลายเป็นข้อดีที่สร้างแรงขับเชิงบวกสู่ทีมในอนาคต

 

Recommendations

แม้ Recruiter จะรู้ว่าความจริงเบื้องหลังว่าการแนะนำนี้อาจมีส่วนที่ “อวย” เกินจริงไม่ได้ตรงตามที่ทั้งหมดได้ระบุไว้
แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ “คอนเนกชัน” ที่เกิดขึ้นรวมถึงเป็น Reference check เกี่ยวกับผู้สมัครได้

ซึ่งมุมมองในฐานะ Recruiter โดย Arno Markus ผู้ก่อตั้ง iCareerSolutions อธิบายว่า
ถ้ามีคนอื่นๆ แนะนำเกี่ยวกับตัวคุณไม่ว่าจะเรื่องทักษะการทำงาน ประสบการณ์
ก็จะส่งผลดีต่อการตัดสินใจว่าคุณจะได้ไปต่อในฐานะ Candidate สำหรับตำแหน่งงานนั้นๆ หรือไม่

Steven Waudby ยังเสริมว่าหากหน้าโปรไฟล์ของคุณมี Recommendations จากอดีตหัวหน้างาน หรือแม้แต่จากหัวหน้าปัจจุบัน
ก็เปรียบเสมือน “ทางลัด” ที่สามารถนำมาพิจารณาโดยไม่จำเป็นต้อง Reference check ด้วยซ้ำ

นอกจากนี้การมี Recommendations ที่แข็งแรง ยังช่วยเพิ่มการมองเห็นโปรไฟล์ได้ผ่าน Keywords
ซึ่งช่วยแสดงผลในสิ่งที่ตรงกับที่ Recruiter ค้นหาจึงเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับอนาคตของเราในทางอ้อม


หวังว่าเทคนิคที่เราได้นำมาฝากกันในบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนได้มีความเข้าใจและสามารถใช้ Linkedin
ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็นและสุดท้ายหากคุณกำลังวางแผนที่จะมองหางาน
อย่าลืมติดตามตำแหน่งงานดีๆ สถานที่ใกล้บ้านหรือฝากโปรไฟล์ไว้กับเราได้เลย
คลิก: https://www.sourcedout.asia/talents/new


อ่านบทความด้านเทคนิคการสัมภาษณ์งานเพิ่มเติม:
S.T.A.R เทคนิคตอบคำถามสัมภาษณ์งานให้ดูมืออาชีพ แม้จะเป็นคนพูดไม่เก่ง
จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังจะได้งาน? สังเกตจาก 7 สัญญาณต่อไปนี้

แปลและเรียบเรียงจาก: 
https://bit.ly/43IdapL 

#ReeracoenRecruitment
#ReeracoenThailand #Recruitment
#Linkedin #Tips #Career #Newjob