รู้หรือไม่? ลาป่วยบ่อยอาจโดนให้ออกจากงานแบบไม่ทันตั้งตัวได้

General TopicNovember 27, 2019 17:51

รู้หรือไม่? ลาป่วยบ่อยอาจโดนให้ออกจากงานแบบไม่ทันตั้งตัวได้

 


ทุกครั้งก่อนที่จะสมัครงานกับองค์กรใด ๆ ควรศึกษากฎระเบียบข้อบังคับที่นอกเหนือจากที่กฎหมายแรงงานกำหนดอยู่เสมอ
เพื่อทำความเข้าใจและใช้เป็นข้อมูลหากถูกเรียกสัมภาษณ์ เพราะในทุก ๆองค์กรย่อมกำหนดกฎกติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อรักษาความเป็นระเบียบ และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือเอกชน ก็ล้วนแต่มีกฎเป็นของตัวเองทั้งสิ้น
แต่ก็ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของลูกจ้างและนายจ้างให้ไม่ต่างฝ่ายถูกเอารัดเอาเปรียบโดยให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายอย่างเสมอภาคมากที่สุด


สิทธิวันลาป่วยที่ลูกจ้างควรรู้
ลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือนมีสิทธิ์การลาป่วย พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 สรุปได้ดังนี้
1. สามารถลาป่วยได้ตามจริง และได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ทั้งนี้ภายในหนึ่งปีต้องไม่เกินกว่า 30 วัน
2. หากลาป่วยติดต่อกันเกิน 3 วัน ลูกจ้างต้องแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ

กรณีศึกษาคำเตือนจากเฟซบุ๊กเพจ “กฎหมายแรงงาน”
เฟซบุ๊กเพจ “กฎหมายแรงงาน” ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่1836/2561กรณีการเลิกจ้างงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยเหตุผลที่ว่าลูกจ้างขาดงานบ่อยโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า และให้เหตุผลในการขาดงานภายหลังว่าป่วย
โดยมีพฤติกรรมการลาป่วยเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งทางนายจ้างเห็นว่าการลาป่วยอยู่บ่อยครั้งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าลูกจ้างมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ขาดสมรรถภาพในการทำงานประกอบกับงานที่ลูกจ้างรับผิดชอบเป็นงานด้านบริการและดูแลความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ผู้ที่มีความพร้อมที่สามารถทำงานบริการภายใต้ความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งตรวจสอบพบหลายครั้งว่าลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริงตามที่อ้างถึง นายจ้างจึงพิจารณาเลิกจ้างลูกจ้างรายดังกล่าวด้วยเหตุที่สมควร และไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม


ลาป่วยถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน ทำไมยังถูกให้ออกจากงานอีก
หลายคนอาจสงสัยว่าในเมื่อก็ลาป่วยถูกต้องตามกฎหมาย ทำไมยังถูกให้ออกจากงานได้อีก แล้วนายจ้างมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่สามารถทำแบบนี้ได้จริงหรือ?
จากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ถึงแม้ลูกจ้างรายนี้จะไม่ได้ลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่การลาบ่อยครั้ง และเป็นการลาที่เป็นเท็จส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร ลูกจ้างก็สามารถถูกให้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลิกจ้างในกรณีศึกษาข้างต้น นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างให้กับลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดหลังจากที่คุณสมัครงานแล้ว ก่อนที่จะกลายเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเต็มตัวควรศึกษากฎหมายแรงงานและสิทธิต่าง ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายของลูกจ้างให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังและเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองอีกด้วยหรือหากคุณเลือกใช้บริการหางานจากบริษัทจัดหางานชั้นนำที่มีการจดทะเบียนชัดเจนนอกเหนือจากข้อมูลเรื่องตำแหน่งงานแล้ว องค์กรเหล่านี้ยังมีคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน สวัสดิการสิทธิประกันสังคมและสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างให้กับคุณอีกด้วย

 

ฝาก Profile: https://www.reeracoen.co.th/en/contacts/new

หน้า Homepage: https://www.reeracoen.co.th/th

Content อื่นๆของ Reeracoen: https://www.reeracoen.co.th/th/articles